-
สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านนา จังหวัดสงขลา
ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้ง อาณาเขต เขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนาได้รับการยกสถานะจากสภาตำบลบ้านนาจัดตั้งเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2537 และได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบลบ้านนา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 เทศบาลตำบลบ้านนามีหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบ 10 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านนาตก
หมู่ที่ 2 บ้านนา
หมู่ที่ 3 บ้านคลองลึก
หมู่ที่ 4 บ้านโคกเค็ต
หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งใหญ่
หมู่ที่ 6 บ้านท่าชะมวง
หมู่ที่ 7 บ้านลางา
หมู่ที่ 8 บ้านโคกม้า
หมู่ที่ 9 บ้านน้ำเค็ม
หมู่ที่ 10 บ้านบ่อต้นแซะ
ที่ตั้ง
เทศบาลตำบลบ้านนา ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 8 ถนนสายจะนะ-ปัตตานี ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา อยู่ห่างจากอำเภอจะนะประมาณ 3 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดสงขลา 40 กิโลเมตร มีถนนสายต่างๆผ่านตำบลบ้านนา สายหลัก 2 สาย คือ ถนนหมายเลข 403 ถนนสายสงขลา – นาทวี และถนนสายเอเชีย หาดใหญ่-ปัตตานี
ทิศเหนือ จด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ
ทิศใต้ จด ตำบลคู ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ
ทิศตะวันออก จด ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ , ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา
ทิศตะวันตก จด ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ
เนื้อที่
ตำบลบ้านนา มีเนื้อที่ทั้งหมด จำนวน 25,881 ไร่คิดเป็น 41.41 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ ร้อยละ 95 ของพื้นที่ตำบลบ้านนาทั้งหมด
-
วิสัยทัศน์ (VISION)“ การศึกษานำสังคม คุณธรรมนำชีวี ราษฎร์สุขขี มีงานทำ ”พันธกิจ (MISSION)
- 1. พัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้น
2. จัดให้มีระบบการคมนาคมที่มีความสะดวกและปลอดภัย
3. ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ได้มาตรฐาน ทั่วถึงและเพียงพอ
4. ส่งเสริมและพัฒนาการเมือง การบริหารจัดการที่ดี และการมีส่วนร่วมของประชาชน
5. ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา กีฬา และนันทนาการ ตลอดจนการฟื้นฟู อนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมและการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
6. ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนจุดมุ่งหมาย (GOAL)1. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอาชีพ มีรายได้ที่พอเพียงต่อการดำรงชีพ
2. ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทั่วถึง หลากหลายตลอดชีวิต
3. การคมนาคมมีความสะดวกปลอดภัย และได้มาตรฐาน
4. ขยายเขตไฟฟ้า ประปาและโทรศัพท์ให้ทั่วถึงและเพียงพอ
5. ประชาชนรู้สิทธิ หน้าที่ และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นมากขึ้น
6. สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ประชาชนมีคุณธรรม ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง
7. สิ่งแวดล้อมที่ดี มีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน
8. ประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู - 1. พัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้น